Training / Seminar

Material Technology for Automotive Part Productions – Intermediate Level

Title: Material Technology for Automotive Part Productions – Intermediate Level
หัวข้อการอบรม: เทคโนโลยีวัสดุสำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ – ระดับกลาง

Date: August 20-21, 2019
วันที่อบรม: 20-21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สถานที่อบรม (Location): ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ข้อมูลการอบรม (Abstract):
เนื่องจากแรงขับเคลื่อนหลักในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีวัสดุ อาทิเช่น กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นของการปล่อย CO2 ราคาและการหาได้ของวัสดุ ต้นทุนการผลิต ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่จะใช้ การออกแบบโดยใช้วัสดุที่หลากหลาย (Multi-Material Concept) ในการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อลดน้ำหนัก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และเทคโนโลยีกระบวนการผลิตที่จำเป็นจะต้องปรับตัวตามไปด้วย ในการอบรมนี้จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมพิเศษเกี่ยวกับการขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นโครงสร้าง อาทิเช่น กระบวนการขึ้นรูปที่อุณหภูมิสูง (Hot Forming Processes) การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating) กระบวนการตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพ (PVD) และ วิศวกรรมศาสตร์ของการกัดกร่อนขั้นสูง (Advanced Corrosion Engineering)

กลุ่มผู้เข้าอบรมเป้าหมาย (Targeted Groups):
– ผู้บริหารและวิศวกรอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
– ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ตารางการอบรม (Program):

Day 1 (August 20, 2019)
Time Program Speakers
08.00 – 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
09.00 – 10.30 กระบวนการขึ้นรูปที่อุณหภูมิสูง (Hot Forming Processes)

  • ผลกระทบของอุณหภูมิในการขึ้นรูปที่อุณหภูมิสูง (Temperature effects in hot forming)
  • กระบวนการขึ้นรูปแผ่นโลหะที่อุณหภูมิสูง (Hot stamping processes)
ดร.พงษ์ศักดิ์ ถึงสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (Dr. Pongsak Tuengsook, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology Thonburi)
10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง (Coffee Break)
10.45 – 12.15 กระบวนการขึ้นรูปที่อุณหภูมิสูง (Hot Forming Processes)

  • กระบวนการทุบขึ้นรูปที่อุณหภูมิสูง (Hot forging processes)
  • กระบวนการรีดขึ้นรูปที่อุณหภูมิสูง (Hot rolling processes)
ดร.พงษ์ศักดิ์ ถึงสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (Dr. Pongsak Tuengsook, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology Thonburi)
12.15 – 13.15 พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch Break)
13.15 – 14.45 กระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ (Electroplating for Automotive Parts)

  • พื้นฐานของ ไฟฟ้าเคมี (Fundamentals of electrochemistry)
  • กระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating process)
ดร. วรรณนิภา อมาตยกุล บริษัท โอคูโน-ออโรเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Dr. Wannipha Amatyakul, Okuno-Auromex)
14.45 – 15.00 พักรับประทานอาหารว่าง (Coffee Break)
15.00 – 16.00 กระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ (Electroplating for Automotive Parts)

  • การประยุกต์ใช้การชุบโลหะด้วยไฟฟ้าในงานชิ้นส่วนยานยนต์ (Applications of electroplating in automotive parts)
ดร. วรรณนิภา อมาตยกุล บริษัท โอคูโน-ออโรเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Dr. Wannipha Amatyakul, Okuno-Auromex)

 

Day 2 (August 21, 2019)
Time Program Speakers
08.00 – 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
09.00 – 10.30 เทคโนโลยีการตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพ (PVD Technology)

  • พื้นผิวและการปรับเปลี่ยนพื้นผิว (Surfaces and surface modification)
  • การระเหย (Evaporation)
  • การเคลื่อนย้าย (Transportation)
  • ปฏิกิริยา (Reaction)
  • การสะสม (Deposition)
ผศ.ดร. ราชศักดิ์ ศักดานุภาพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Dr. Rachsak Sakdanuphab, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang)
10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง (Coffee Break)
10.45 – 12.15 เทคโนโลยีการตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพ (PVD Technology)

  • ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีการตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพ (Advantages and disadvantages of PVD technology)
  • การประยุกตร์ใช้เทคโนโลยีการตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพในงานชิ้นส่วนยานยนต์ (PVD applications in automotive parts)
ผศ.ดร. ราชศักดิ์ ศักดานุภาพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Dr. Rachsak Sakdanuphab, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang)
12.15 – 13.15 พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch Break)
13.15 – 14.45 พื้นฐานการกัดกร่อนสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ (Fundamental of Corrosion for Automotive Components)

  • หลักการของการกัดกร่อน (Principle of corrosion)
  • รูปแบบของการกัดกร่อน (Types of corrosion)
  • การวัดและการทดสอบการกัดกร่อน (Corrosion measurements and testing)
ดร. ณมุรธา สถิรจินดา พอลสัน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (Dr. Namurata Sathirachinda Palsson, National Metal and Materials Technology Center)
14.45 – 15.00 พักรับประทานอาหารว่าง (Coffee Break)
15.00 – 16.00 พื้นฐานการกัดกร่อนสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ (Fundamental of Corrosion for Automotive Components)

  • การกัดกร่อนในอุตสาหกรรมยานยนต์ (Corrosion in automotive industry)
  • การป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรมยานยนต์ (Corrosion protection in automotive industry)
ดร. ณมุรธา สถิรจินดา พอลสัน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (Dr. Namurata Sathirachinda Palsson, National Metal and Materials Technology Center)

 

การลงทะเบียน (Registration)
– ค่าลงทะเบียน ราคา 6,000 บาท/ท่าน
– รับจำนวนจำกัด 40 ท่านเท่านั้น
– สมาชิกของสมาคม Thai Tribology Association (TTA) Thai Corrosion of Metals and Materials Association (TCMA) และ Thailand Electroplating Professional Network (TEPNET) ได้ส่วนลดในการเข้าอบรม 20%
– หากมีผู้ลงทะเบียนน้อย ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงวันจัดหลักสูตร ทั้งนี้ผู้จัดงานฯ จะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบภายใน 1 สัปดาห์ก่อนวันอบรม
หมายเหตุ

การชำระค่าลงทะเบียน
– เงินสด/ เช็คสั่งจ่าย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846
– กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางโทรสาร 0 2564 6505 หรืออีเมล [email protected]
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

ลงทะเบียน (Register)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (Contact)
งานพัฒนากำลังคนด้านวัสดุศาสตร์ (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทร. 025646500 ต่อ 4675 โทรสาร 0 2564 6505
E-mail: [email protected]

ผู้ร่วมจัดงาน (Co-Organizers)

tta_logo_w_thai_text

mtec_logo