เรื่อง (Title): ไฟไนต์เอลิเมนต์ในงานวิศวกรรม สำหรับวิเคราะห์ทางด้านไทรโบโลยี (Finite Element Method in Engineering for Tribology) วันที่ (Date): 10 กุมภาพันธ์ 2559 วิทยากร (Speaker): นายเสฏฐวรรธ สุจริตภวัตสกุล นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) คณะทำงานสมาคมการสึกหรอและการหล่อลื่นไทย (TTA) ข้อมูลการอบรม (Abstract): การใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในงานวิศวกรรมนั้นได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มของงานทางด้านไทรโบโลยี (แรงเสียดทาน การสึกหรอและการหล่อลื่น) เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์กันที่ซับซ้อนระหว่างพื้นผิวในด้านการสัมผัส การถ่ายเทความร้อน การไหล และโครงสร้างของวัสดุ เนื่องจากการนำความสามารถในการจำลองปรากฏการณ์ต่างๆของระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มาประยุกต์ใช้กับความรู้ทางด้านไทรโบโลยีจะช่วยทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น และยังสามารถทำให้ช่วยคาดคะเนการสึกหรอที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระบบทางไทรโบโลยีซึ่งเป็นระบบที่ไม่อาจจะทำการทดลองได้จริง เนื่องจากอาจจะต้องใช้การลงทุนสูง หรือไม่มีเครื่องมือในการวัดในระบบจริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคาดคะเนการสึกหรอที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในแม่พิมพ์ที่อยู่ในสภาวะที่มีความเค้นที่สูง ซึ่งการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ทางด้านไทรโบโลยีจะมีสามารถช่วยในการออกแบบแม่พิมพ์ที่เหมาะสม การเลือกใช้วัสดุของแม่พิมพ์ที่ถูกต้อง และการเลือกใช้สภาวะในการผลิตมีประสิทธิภาพที่สุด ภาพบรรยากาศการอบรม (Photos): ผู้เข้าร่วมการอบรม (Participants): Name Last Name Organization Chalermchai Jeerapan Thailand Institute of Sciencetific and Technological Research Trongthai Tangjai King […]
เรื่อง (Title): กลไกการสึกหรอกับงานบำรุงรักษา (Wear Mechanisms and Maintenance Tribology) วันที่ (Date): 19 พฤศจิกายน 2558 สถานที่ (Location): ห้อง CC-306 ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) จ.ปทุมธานี วิทยากร (Speaker): รศ. ดร. สุรพล ราษฎร์นุ้ย ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ข้อมูลการอบรม (Abstract): ไทรโบโลยี (Tribology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเสียดทาน การสึกหรอและการหล่อลื่น (Friction, Wear and Lubrication) โดยที่รากศัพท์ของคำว่า “Tribo” แปลว่า ถู ซึ่งหากมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสัมพัทธ์ระหว่างวัตถุคู่สัมผัสใดๆ จะทำให้เกิดการเสียดทานและการสึกหรออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากความหยาบผิวของวัสดุคู่สัมผัสนั่นเอง หากต้องการลดหรือชะลอแรงเสียดทานและ/หรือการสึกหรอของชิ้นส่วนทางกล โดยทั่วไปอาทิในรองลื่นหรือตลับลูกปืน ฟันเฟือง ปั๊มของไหลแรงดันสูงทั้งในแบบของน้ำหรือน้ำมันหรืออากาศอัด หรือชิ้นส่วนในกังหันเทอร์ไบน์ในอากาศยาน โรงไฟฟ้า ฯลฯ ก็จำเป็นต้องมีการใช้สารหล่อลื่นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซ น้ำมันหล่อลื่น จาระบีหรือสารหล่อลื่นของแข็ง เช่น […]
เรื่อง (Title): หลักการเลือกวัสดุและกระบวนการเคลือบผิวสำหรับแม่พิมพ์ (Die Materials and Coating Selection) วันที่ (Date): 17 มิถุนายน 2558 สถานที่ (Location): ห้องบุษกร อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี วิทยากร (Speaker): ดร.พงษ์ศักดิ์ ถึงสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ข้อมูลการอบรม (Abstract): ในกระบวนการขึ้นรูปวัสดุ แม่พิมพ์ ถูกจัดว่าเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องแม่พิมพ์จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างของชิ้นงานที่จะผลิต ความแข็งแรงทนทานของวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ จึงเป็นปัจจัยหลักในการเลือกวัสดุ รวมไปถึงกระบวนการปรับปรุงสมบัติของวัสดุด้วยความร้อน (Heat Treatment) นอกจากนั้น ความเสียหายทำให้อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากการสึกหรอ ทำให้กระบวนการเคลือบผิว (Coating) กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งในการบรรยายครั้งนี้ จะกล่าวถึงวัสดุสำหรับงานแม่พิมพ์ ประเภทต่างๆ รวมไปถึงกระบวนการปรับปรุงสมบัติด้วยความร้อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ ความแข็งแรงของแม่พิมพ์ ในขณะเดียวกันกระบวนการเคลือบผิวก็ส่งผลต่อความต้านทานการสึกหรอ ดังนั้นในการผลิตแม่พิมพ์การเลือกวัสดุ วิธีการปรับปรุงสมบัติวัสดุด้วยความร้อน และ การเคลือบผิวที่เหมาะสมนั้น จะทำให้อายุการใช้งานแม่พิมพ์ ยืนยาวยิ่งขึ้น ภาพบรรยากาศการอบรม (Photos): ผู้เข้าร่วมการอบรม (Participants): […]
เรื่อง (Title): พื้นผิวและกลศาสตร์การสัมผัส (Surfaces and Contact Mechanics) วันที่ (Date): 10 กุมภาพันธ์ 2559 สถานที่ (Location): ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี วิทยากร (Speaker): รศ. ดร. สุรสิทธิ์ ปิยะศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อมูลการอบรม (Abstract): พื้นผิวของโครงสร้างโลหะมีลักษณะการใช้งานหลากหลายประเภท หนึ่งในนั้นและมักพบในเครื่องจักรกลโดยทั่วไป คือ ลักษณะการใช้งานแบบมีการสัมผัสกัน ในการศึกษาถึงรายละเอียดด้านกลศาสตร์ของการสัมผัส เพื่อการวิเคราะห์ถึง ผลลัพธ์ของค่าความเค้นและการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Stress and Deformation Body) ที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวที่สัมผัสกัน จึงมีความจำเป็น และมีความสำคัญที่จะประยุกต์ใช้ในลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส การคำนวณเชิงตัวเลขโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ (Finite Element Method) สำหรับการทำนายผลลัพธ์ของการสัมผัส เป็นเทคนิคนิยมและเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเที่ยงตรง ใกล้เคียงกับลักษณะของการปฎิบัติงานจริง ในการอบรมครั้งนี้ ตัวอย่างของการวิเคราะห์ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น การวิเคราะห์สปริงแนบในระบบสั่นสะเทือนของยานพาหนะ ระบบการขับเคลื่อนของเฟือง การถ่ายเทความร้อนแบบสัมผัส จะถูกนำมาเป็นกรณีศึกษา […]