เรื่อง (Title): ไฟไนต์เอลิเมนต์ในงานวิศวกรรม สำหรับวิเคราะห์ทางด้านไทรโบโลยี (Finite Element Method in Engineering for Tribology) วันที่ (Date): 10 กุมภาพันธ์ 2559 วิทยากร (Speaker): นายเสฏฐวรรธ สุจริตภวัตสกุล นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) คณะทำงานสมาคมการสึกหรอและการหล่อลื่นไทย (TTA) ข้อมูลการอบรม (Abstract): การใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในงานวิศวกรรมนั้นได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มของงานทางด้านไทรโบโลยี (แรงเสียดทาน การสึกหรอและการหล่อลื่น) เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์กันที่ซับซ้อนระหว่างพื้นผิวในด้านการสัมผัส การถ่ายเทความร้อน การไหล และโครงสร้างของวัสดุ เนื่องจากการนำความสามารถในการจำลองปรากฏการณ์ต่างๆของระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มาประยุกต์ใช้กับความรู้ทางด้านไทรโบโลยีจะช่วยทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น และยังสามารถทำให้ช่วยคาดคะเนการสึกหรอที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระบบทางไทรโบโลยีซึ่งเป็นระบบที่ไม่อาจจะทำการทดลองได้จริง เนื่องจากอาจจะต้องใช้การลงทุนสูง หรือไม่มีเครื่องมือในการวัดในระบบจริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคาดคะเนการสึกหรอที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในแม่พิมพ์ที่อยู่ในสภาวะที่มีความเค้นที่สูง ซึ่งการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ทางด้านไทรโบโลยีจะมีสามารถช่วยในการออกแบบแม่พิมพ์ที่เหมาะสม การเลือกใช้วัสดุของแม่พิมพ์ที่ถูกต้อง และการเลือกใช้สภาวะในการผลิตมีประสิทธิภาพที่สุด ภาพบรรยากาศการอบรม (Photos): ผู้เข้าร่วมการอบรม (Participants): Name Last Name Organization Chalermchai Jeerapan Thailand Institute of Sciencetific and Technological Research Trongthai Tangjai King […]
เรื่อง (Title): กลไกการสึกหรอกับงานบำรุงรักษา (Wear Mechanisms and Maintenance Tribology) วันที่ (Date): 19 พฤศจิกายน 2558 สถานที่ (Location): ห้อง CC-306 ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) จ.ปทุมธานี วิทยากร (Speaker): รศ. ดร. สุรพล ราษฎร์นุ้ย ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ข้อมูลการอบรม (Abstract): ไทรโบโลยี (Tribology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเสียดทาน การสึกหรอและการหล่อลื่น (Friction, Wear and Lubrication) โดยที่รากศัพท์ของคำว่า “Tribo” แปลว่า ถู ซึ่งหากมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสัมพัทธ์ระหว่างวัตถุคู่สัมผัสใดๆ จะทำให้เกิดการเสียดทานและการสึกหรออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากความหยาบผิวของวัสดุคู่สัมผัสนั่นเอง หากต้องการลดหรือชะลอแรงเสียดทานและ/หรือการสึกหรอของชิ้นส่วนทางกล โดยทั่วไปอาทิในรองลื่นหรือตลับลูกปืน ฟันเฟือง ปั๊มของไหลแรงดันสูงทั้งในแบบของน้ำหรือน้ำมันหรืออากาศอัด หรือชิ้นส่วนในกังหันเทอร์ไบน์ในอากาศยาน โรงไฟฟ้า ฯลฯ ก็จำเป็นต้องมีการใช้สารหล่อลื่นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซ น้ำมันหล่อลื่น จาระบีหรือสารหล่อลื่นของแข็ง เช่น […]
เรื่อง (Title): หลักการเลือกวัสดุและกระบวนการเคลือบผิวสำหรับแม่พิมพ์ (Die Materials and Coating Selection) วันที่ (Date): 17 มิถุนายน 2558 สถานที่ (Location): ห้องบุษกร อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี วิทยากร (Speaker): ดร.พงษ์ศักดิ์ ถึงสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ข้อมูลการอบรม (Abstract): ในกระบวนการขึ้นรูปวัสดุ แม่พิมพ์ ถูกจัดว่าเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องแม่พิมพ์จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างของชิ้นงานที่จะผลิต ความแข็งแรงทนทานของวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ จึงเป็นปัจจัยหลักในการเลือกวัสดุ รวมไปถึงกระบวนการปรับปรุงสมบัติของวัสดุด้วยความร้อน (Heat Treatment) นอกจากนั้น ความเสียหายทำให้อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากการสึกหรอ ทำให้กระบวนการเคลือบผิว (Coating) กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งในการบรรยายครั้งนี้ จะกล่าวถึงวัสดุสำหรับงานแม่พิมพ์ ประเภทต่างๆ รวมไปถึงกระบวนการปรับปรุงสมบัติด้วยความร้อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ ความแข็งแรงของแม่พิมพ์ ในขณะเดียวกันกระบวนการเคลือบผิวก็ส่งผลต่อความต้านทานการสึกหรอ ดังนั้นในการผลิตแม่พิมพ์การเลือกวัสดุ วิธีการปรับปรุงสมบัติวัสดุด้วยความร้อน และ การเคลือบผิวที่เหมาะสมนั้น จะทำให้อายุการใช้งานแม่พิมพ์ ยืนยาวยิ่งขึ้น ภาพบรรยากาศการอบรม (Photos): ผู้เข้าร่วมการอบรม (Participants): […]
เรื่อง (Title): พื้นผิวและกลศาสตร์การสัมผัส (Surfaces and Contact Mechanics) วันที่ (Date): 10 กุมภาพันธ์ 2559 สถานที่ (Location): ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี วิทยากร (Speaker): รศ. ดร. สุรสิทธิ์ ปิยะศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อมูลการอบรม (Abstract): พื้นผิวของโครงสร้างโลหะมีลักษณะการใช้งานหลากหลายประเภท หนึ่งในนั้นและมักพบในเครื่องจักรกลโดยทั่วไป คือ ลักษณะการใช้งานแบบมีการสัมผัสกัน ในการศึกษาถึงรายละเอียดด้านกลศาสตร์ของการสัมผัส เพื่อการวิเคราะห์ถึง ผลลัพธ์ของค่าความเค้นและการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Stress and Deformation Body) ที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวที่สัมผัสกัน จึงมีความจำเป็น และมีความสำคัญที่จะประยุกต์ใช้ในลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส การคำนวณเชิงตัวเลขโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ (Finite Element Method) สำหรับการทำนายผลลัพธ์ของการสัมผัส เป็นเทคนิคนิยมและเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเที่ยงตรง ใกล้เคียงกับลักษณะของการปฎิบัติงานจริง ในการอบรมครั้งนี้ ตัวอย่างของการวิเคราะห์ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น การวิเคราะห์สปริงแนบในระบบสั่นสะเทือนของยานพาหนะ ระบบการขับเคลื่อนของเฟือง การถ่ายเทความร้อนแบบสัมผัส จะถูกนำมาเป็นกรณีศึกษา […]
One-stop Platform to Complete Your Production Process Surface & Coatings 2015, an international trade exhibition for surface treatment, paints and coatings industry, co-located with“Manufacturing Expo 2015” (Thailand’s largest event for the manufacturing and supporting industries), will be a special platform for manufacturers in Thailand on latest chemical and raw materials, coating products, machinery and equipment, […]
International Research Group of Tribology in Manufacturing (IRGTM) in collaborations with Thai Tribology Association (TTA), National Metal and Materials Technology Center (MTEC), King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT), and Khon Kaen University (KKU) are organizing the 7th International Conference on Tribology in Manufacturing Processes (ICTMP) during February 28 to March 2, 2016 in Phuket, […]
เรื่อง (Title): หลักวิธีการหล่อลื่นและสารหล่อลื่น (Lubrication & Lubricants): วิธีเลือกสารหล่อลื่นให้เหมาะสม เพื่อยืดอายุและลดการชำรุดของเครื่องจักรกล วันที่ (Date): 28 มกราคม 2558 สถานที่ (Location): ห้อง Lecture 1 บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี วิทยากร (Speaker): ดร.พีระวัฒน์ นันทวราวงศ์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเครื่องมือและเครื่องจักรกลด้วยระบบไทรโบโลยี มจพ. คณะทำงานสมาคมการสึกหรอและการหล่อลื่นไทย (TTA) ข้อมูลการอบรม (Abstract): ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรกลที่ใช้สารหล่อลื่น (เสมือนเป็นอาหาร) สำหรับเครื่องจักรกลนั้นๆ สูงกว่าร้อยละ 75 ทั้งนี้ เนื่องจากสิ่งสกปรกปนเปื้อน (Contaminants) ในสารหล่อลื่น การหล่อลื่นที่ผิดวิธี (Incorrect Lubrication) และ การเสื่อมสภาพของสารหล่อลื่นก่อนเวลาอันควร (Lubricant Degradation) โดยอาจเกิดจากความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งของผู้ควบคุมเครื่องจักรกล และ การบำรุงรักษาที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ทำให้เครื่องจักรกลเกิดการหยุดกะทันหัน (Breakdown) ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ และ การสูญเสียผลิตภาพ […]
Training/Seminar/Workshop Dates Topics Format August 2023 Electric Motors Lubrication, Testing, and Maintenance Free Online Seminar June 2023 Electric Motor Bearings Design and Selection Free Online Seminar April 2023 Electric Motor Manufacturing Free Online Seminar February 2-3, 2023 EV Transmission Design Free Online Seminar September 29, 2022 Standard Testings for Electric Motors Free Online Seminar July […]